ในช่วงที่ผ่านมา กลต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ พยายามผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนตระหนักถึงความสำคัญของการมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (good governance) โดยการออกข้อกำหนดต่าง ๆ หลายเรื่อง เช่น การกำหนดมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล เป็นต้น
จากการติดตามและประเมินผลในเรื่องดังกล่าว พบว่า มีบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้ และมีการปรับปรุงการดำเนินงานในหลาย ๆ ด้าน จนกล่าวได้ว่ามีการกำกับดูแลกิจการอยู่ในระดับที่น่าพอใจ อย่างไรก็ดี ยังมีบริษัทจดทะเบียนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าวมากพอ รวมทั้งผู้ลงทุนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้มากนัก ซึ่งสาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากการไม่สามารถแยกแยะให้เห็นได้ชัดเจนระหว่างบริษัททั่ว ๆ ไป กับบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
สำนักงาน ก.ล.ต. จึงมีแนวความคิดที่จะส่งเสริมและผลักดันการดำเนินการในเรื่องนี้ให้เห็นผลได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการสนับสนุนให้มีการจัดอันดับการกำกับดูแลกิจการ (governance rating) และเปิดเผยให้ผู้ลงทุนทั่วไปได้ทราบ โดยบริษัทที่ได้รับอันดับในระดับที่สำนักงานกำหนด จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
ประโยชน์ทางตรง
(1) สำนักงานจะประกาศยกย่อง เชิดชู บริษัทที่ได้อันดับขั้นต่ำตามเกณฑ์ที่กำหนด ให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
(2) สำนักงานจะลดหย่อนค่าธรรมเนียมรายปีที่บริษัทต้องจ่ายให้สำนักงาน ในฐานะที่เป็นบริษัทที่ออกหลักทรัพย์
(3) ในกรณีที่บริษัทประสงค์จะระดมทุน ไม่ว่าโดยการเสนอขายหุ้นหรือตราสารใด ๆ จะสามารถทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วและด้วยต้นทุนที่ต่ำลง กล่าวคือ
•ได้รับการพิจารณาเป็นกรณีเร่งด่วน (fast track)
•ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีที่ปรึกษาทางการเงินร่วมจัดทำคำขออนุญาต
•ได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียม filing ที่ต้องจ่ายให้สำนักงาน
ทั้งนี้ การลดหย่อนค่าธรรมเนียมตาม (2) และ (3) มีกำหนดเวลาเบื้องต้น 3 ปี หลังจากนั้น สำนักงานจะทบทวนความเหมาะสมในเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง
ประโยชน์ทางอ้อม
(1) บริษัทจะมีภาพพจน์ที่ดีในสายตาผู้เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้น ประชาชนทั่วไป ลูกค้า
supplier เจ้าหนี้ ฯลฯ
(2) ราคาหุ้นของบริษัทจะมี premium เพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ลงทุนจะเห็นประโยชน์และความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีมากขึ้น เช่นเดียวกับแนวโน้มที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งผลจากการวิจัยของบางบริษัทพบว่า ผู้ลงทุนต่างประเทศยินดีจ่าย premium ให้กับหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยที่มี governance ดี เพิ่มขึ้นถึง 26%
การดำเนินการต่อไป
• Rating Agency
สำนักงานได้สอบถามความสนใจในเบื้องต้นกับบริษัทจัดอันดับในประเทศไทยทั้ง 2 แห่ง คือ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (TRIS) และบริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด (FITCH) แล้วพบว่า ทั้ง 2 บริษัทให้ความสนใจจะดำเนินการเรื่องนี้ โดยสำนักงานรับจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้กับทั้ง 2 บริษัทในขั้นตอนการกำหนดแนวทางการจัดอันดับ ทั้งนี้ คาดว่าทั้ง 2 บริษัท จะต้องใช้เวลาในการเตรียมการเรื่องนี้ประมาณ 2-3 เดือน และจะพร้อมเริ่มให้บริการได้ในช่วงปลายปีนี้
• แนวทางการจัดอันดับ
สำนักงานจะเป็นผู้กำหนดกรอบการจัดอันดับ โดยใช้แนวทางซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และนำมาปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย โดยจะหารือในเรื่องนี้ร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทจัดอันดับ สถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)บริษัทจดทะเบียน และผู้ลงทุน ซึ่งในเบื้องต้น สำนักงานเห็นว่า แนวทางดังกล่าวจะครอบคลุมเรื่องสำคัญ ๆ ดังต่อไปนี้
-การให้สิทธิและความเป็นธรรมแก่ผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เช่น คู่ค้า เจ้าหนี้ เป็นต้น
-โครงสร้างผู้ถือหุ้น และการกระจายการถือหุ้น
-โครงสร้างกรรมการ และการบริหารงาน
-การเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใส (ครบถ้วน เท่าเทียมกัน และทันต่อเหตุการณ์)
• การผลักดันให้ผู้ลงทุนสนใจเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ในระยะต่อไป เมื่อเริ่มมีบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับในเรื่องนี้มากขึ้น สำนักงานมีแนวความคิดที่จะออกข้อกำหนดให้ผู้ลงทุนสถาบันภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน เช่น กองทุนรวม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เปิดเผยว่ากองทุนภายใต้การบริหารของบริษัทจัดการต่าง ๆ มีสัดส่วนการลงทุนในบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการที่ดีมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ สำนักงานจะเผยแพร่และขอความร่วมมือจากผู้ลงทุนสถาบันอื่น ๆ เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และบริษัทประกันชีวิต ให้นำเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาเป็นปัจจัยสำคัญที่ใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนในโอกาสต่อไปด้วย ทั้งนี้ มีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันผู้ลงทุนสถาบันทั้ง 5 ประเภทที่กล่าวถึงข้างต้น มีมูลค่า port การลงทุนรวมกันกว่า 700,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่งต่อการผลักดันให้บริษัทจดทะเบียนในประเทศไทยมีการกำกับดูแลกิจการที่ดีมากยิ่งขึ้นในอนาคต
Download เอกสารตัวอย่างเพิ่มเติม ที่นี่ ex.pdf
ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย
หากท่านสนใจบริการ ตรวจสอบภายในธรรมนิติ (DIR) มีดังนี้
- งานตรวจสอบภายใน (IA)
- ประเมินระบบการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยง
- ประเมินทุจริตคอรัปชั่น
- ตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์และไอที
- งานตรวจสอบพิเศษ
- ประเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายใน (QAR)
- พัฒนาระบบบัญชี
สามารถติตต่อได้ที่
เบอร์ : 02-596-0500 ต่อ 327 อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
บริษัทตรวจสอบภายในธรรมนิติ (DIR) ยินดีให้บริการครับ