หลังจากที่ได้การพูดถึง ความจำเป็นของการจัดทำบัญชีและวางระบบบัญชีในองค์กรธุรกิจ ความความสัมพันธ์กันที่แยกไม่ออกของการวางระบบบัญชีและการควบคุมภาย รวมถึงการควบคุมภายในตามแนวคิด COSO ไปแล้ว ในตอนนี้ผู้เขียนจะชี้ให้เห็นถึง 17 ข้อองค์ประกอบย่อยจาก 5 องค์ประกอบหลัก COSO และสรุปความเชื่อมโยงของการวางระบบบัญชีกับการควบคุมภายในเพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นนั่นเองค่ะ
สำหรับการรายงานผลการประเมินและการสั่งการแก้ไขต้องจัดทำรายงานผลการประเมินที่สำคัญเสนอผู้บริหารที่รับผิดชอบ เช่น การจัดทำรายงานแสดงผลความคลาดเคลื่อนของการดำเนินงานเป็นระยะๆ
และจากข้อมูลองค์ประกอบหลักดังกล่าว จะแบ่งออกเป็น 17 ข้อองค์ประกอบย่อย สรุปได้ดังนี้
องค์ประกอบหลัก | องค์ประกอบย่อย | สิ่งที่ธุรกิจควรมี/ต้องปฏิบัติ |
1. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment) |
1. การตระหนักในความซื่อสัตย์และจริยธรรม |
|
2. การกำหนดความรับผิดชอบในการบริหารจัดการภาพรวมองค์กร | ||
3. การกำหนดโครงสร้าง อำนาจ และความรับผิดชอบ |
|
|
4. การตระหนักในความรู้ความสามารถ |
|
|
5. การส่งเสริมความรับผิดชอบในหน้าที่ |
||
2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) | 6. การกำหนดเป้าหมายอย่างเหมาะสม |
|
7. การระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยง |
|
|
8. การประเมินความเสี่ยงการทุจริต |
|
|
9. การระบุและวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลง |
|
|
3. การควบคุมการปฏิบัติงาน (Control Activities) | 10. การกำหนดและพัฒนากิจกรรมการควบคุม |
|
11. การกำหนดและพัฒนาการควบคุมทั่วไปทางเทคโนโลยี |
|
|
12. การปฏิบัติตามนโยบายและระเบียบการปฏิบัติงาน |
|
|
4. ระบบสารสนเทศและการสื่อสารข้อมูล (Information & Communication) | 13. การใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน |
|
14. การสื่อสารภายในองค์กร |
|
|
15. การสื่อสารภายนอกองค์กร |
|
|
5. ระบบการติดตาม (Monitoring Activities) | 16. การติดตามผลการปฏิบัติงานต่อเนื่อง |
|
17. การประเมินและสื่อสารข้อควรปรับปรุง |
|
ระบบการควบคุมภายในที่ดีเกิดขึ้นได้ เมื่อ
- ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญ ปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี และมีหน้าที่รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและมาตรการการควบคุมขององค์กร
- เป็นกระบวนการที่รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงาน
- ได้รับความร่วมมือจากบุคลากรทุกคนภายในองค์กร
- ติดตามผลการควบคุมภายในอย่างสม่ำเสมอ
- ปรับปรุงมาตรการควบคุมต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
ประโยชน์ของการควบคุมภายใน
- เป็นเครื่องมือช่วยผู้บริหารในการกำกับดูแลการปฏิบัติงาน
- การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
- การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดและคุ้มค่า
- ข้อมูลและรายงานทางการเงินถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้
- การปฏิบัติงานในขั้นตอนต่างๆ เป็นไปอย่างมีระบบ ถูกต้องเหมาะสมและอยู่ในกรอบของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
- ป้องกันโอกาสเสี่ยงที่อาจเกิดความผิดพลาดในการดำเนินงานขององค์กร
ความเชื่อมโยงของการวางระบบบัญชีกับการควบคุมภายใน
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างระบบบัญชีและการควบคุมภายในในทุกทุกขั้นตอน จึงกล่าวได้ว่า ระบบบัญชีที่ดีจะก่อให้เกิดการสอบยันของการปฏิบัติงานภายใน และการตรวจสอบภายในระบบกันเอง และในขณะเดียวกันการควบคุมภายในที่สมบูรณ์นั้น จะก่อให้เกิดระบบการทำงานที่ดี ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดบกพร่อง การที่จะทำให้อีกส่วนหนึ่งดีนั้นเป็นเรื่องยาก
ดังนั้นผู้ที่จะวางระบบบัญชีที่ดีนั้นจะต้องคำนึงถึงหลักการจัดระบบต่างๆ ให้ครอบคลุมถึงวิธีการปฏิบัติงาน การควบคุมภายใน และความเหมาะสมในการปฏิบัติงาน และเกิดระบบการทำงานที่รัดกุม รวมถึงการสอบยันที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ซึ่งสามารถนำมาสรุปความสัมพันธ์ในการดำเนินการได้ดังนี้
องค์ประกอบ COSO |
การวางระบบบัญชี |
1. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment) |
เพื่อให้สอดคล้องกับธุรกิจ มีความยืดหยุ่นแต่ไม่รัดกุม และเสริมสร้างประสิทธิภาพของการวางระบบบัญชี จึงต้องจัดทำผังการแบ่งงาน(OrganizationChart)ไว้อย่างชัดเจน ทำให้เห็นภาพรวมของกิจการได้ มีการกระจายอำนาจในการอนุมัติตามสายการบังคับบัญชาตามการผังงาน(Flowchart)เรียกว่า จุดการตัดสินใจ หรือ Diamond Shape ที่แสดงด้วยรูปภาพ |
2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) |
ก่อนการวางระบบบัญชี ผู้วางจะต้องทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่มีการปฏิบัติงานในปัจจุบัน และนำมาวิเคราะห์หาช่องว่างที่ทำให้เกิดการผิดพลาด หรือที่เรียกกันว่า Gap Analysis ก่อนที่จะดำเนินการในขั้นตอนต่อไป |
3.กิจกรรมการควบคุม (Control Activities)
|
ถือเป็นหัวใจสำคัญที่ต้องมีการจัดวางให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงและป้องกันจุดรั่วไหลที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้ 1) การกำหนดทางเดินของงาน ทางเดินของงานและเอกสารที่เหมาะสมจะทำให้การปฏิบัติงานตามระบบบัญชีเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าผู้วางระบบบัญชีไม่มีความรู้ด้านการบริหาร ก็จะไม่สามารถกำหนดทางเดินของงานให้สอดคล้องกับผังทางเดินเอกสารตามระบบบัญชีได้ 2) การจัดบุคคลเข้าทำงานในตำแหน่งต่างๆ ให้เหมาะสม 3) การคัดเลือกเข้าทำงานตามระบบบัญชี 4) การแบ่งแยกหน้าที่การทำงานได้อย่างชัดเจน สามารถที่จะระบุหน้าที่ ลักษณะงานที่จะต้องทำ เอกสารที่จะต้องใช้รวมถึงความรับผิดชอบของแต่ละส่วนงานในขั้นตอนการดำเนินงานที่สำคัญ ควรระบุได้ถึงอำนาจการดำเนินงานต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับบริษัท หรือเอกสารใดๆ ที่จะให้ตรวจสอบได้ว่าใครมีหน้าที่อะไร อย่างไร แค่ไหน รวมถึงรายการที่เกิดขึ้นจะต้องมีการอนุมัติโดยผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบจากกิจการ ตามความเหมาะสมกับความสำคัญของรายการที่เกิดขึ้น การดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีการลงนามให้สามารถทราบได้ในภายหลังว่าใครเป็นคนทำ 5) การบันทึกและเป็นตัวแทนของการดำเนินงานในขั้นตอนต่างๆ ของบริษัทอย่างครบถ้วน การบันทึกบัญชีดังกล่าวไม่จำเป็นว่าจะต้องทำการบันทึกผ่านสมุดบัญชีทั้งหมด แต่อาจจะเป็นรายการที่เกิดขึ้นจากรายงานการทำงานในแผนกอื่น ที่ฝ่ายบัญชีสามารถนำผลสรุปมาใช้ในการทำงานได้ 6) ทรัพย์สินของบริษัท ได้มีการเก็บรักษาทรัพย์สินเป็นไปอย่างมีระบบระเบียบและสามารถบ่งชี้ทรัพย์สินได้อย่างชัดเจนมีกระบวนการที่ครอบคลุมถึงการจำหน่าย-จ่าย-โอนทรัพย์สิน อาจจะรวมถึงการบำรุงรักษา และมีการประกันภัยความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากความเสียหายจากอุบัติเหตุที่คาดไม่ถึงต่างๆ อย่างเพียงพอ และต้องมีการอนุมัติจากผู้มีอำนาจของกิจการตามลำดับความสำคัญที่เหมาะสมเท่านั้น 7) มีความสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจตามสภาพข้อเท็จจริงการวางระบบบัญชีควรจะวางหลังจากที่มีการวางโครงสร้างทางภาษีและโครงสร้างทางการบริหารจัดการแล้ว เพื่อที่จะให้การจัดทำบัญชีเป็นไปโดยสอดคล้องกับการดำเนินงานด้านภาษีและการบริหารงาน นั่นหมายความว่า ผู้บริหารจะต้องมีความชัดเจนพอสมควรในเรื่องแนวทางในการดำเนินธุรกิจ เพื่อที่จะให้ระบบบัญชีเป็นไปตามความต้องการของผู้บริหาร |
4.ข้อมูลสารสนเทศ และการสื่อสารในองค์กร (Information and Communication) |
|
5. การติดตามและประเมินผล (Monitoring) |
สิ่งสุดท้ายที่ขาดไม่ได้เพราะหากขาดไปจะทำให้ระบบการควบคุมภายในไม่สมบูรณ์ ดังนั้น
|
เพื่อให้ธุรกิจได้รับประโยชน์จากการวางระบบบัญชีได้มากที่สุด
คุณสมบัติของผู้วางระบบบัญชี
1. คุณสมบัติทางด้านวิชาการ คือ มีความรู้ทางด้านวิชาการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเป็นอย่างดีได้แก่
- หลักวิชาการบัญชีทุกประเภท
- หลักการบริหารงาน
- ด้านกฎหมาย
2. คุณสมบัติเฉพาะตัว ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่อาจจะไม่มีตำราให้เรียนโดยเฉพาะ แต่จะเกิดจากความสนใจ มุ่งมั่นในการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ซึ่งคุณสมบัติเฉพาะตัวได้แก่
- ความเชื่อมั่นในตนเอง
- ความสามารถในการจูงใจคน
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- สามารถนำความรู้ทางวิชาการมาอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ
- เข้าใจการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ได้ดี
ทางผู้เขียนหวังว่าบทความครั้งนี้คงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการวางระบบบัญชีให้มีความเชื่อมโยงกับระบบการควบคุมภายใน จะเพื่อปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพก็ดีหรือเป็นการเตรียมระบบให้มีความพร้อมสำหรับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในอนาคต
หากท่านมีความประสงค์จะปรึกษาเรื่องวางระบบบัญชีให้มีความเชื่อมโยงกับระบบการควบคุมภายในเพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ หรือต้องการเตรียมพร้อมสำหรับการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 02-596-0500 ต่อ327 หรืออีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือผ่านทาง Facebook Dharmniti.InternalAudit
_______________________________________________
ผู้เขียน: ลภัสรดา เลิศภานุโรจ รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ตรวจสอบภายในธรรมนิติ จำกัด
หมายเหตุ : บทความ “การวางระบบกับการควบคุมภายในตามมาตรฐานบริษัทในตลาดหลักทรัพย์” เผยแพร่ครั้งแรกใน วารสารเอกสารภาษีอากร ใส่ links http:// bit.ly/taxmag-dhg ฉบับมิถุนายน 2563