News

| Thursday, 15 September 2016 |
Written by 

มุมมองของโลกต่อ “ความเสี่ยง”

แปลโดย วาวไพลิน ช่อวิเชียร จากวารสาร Tone at the Top ฉบับ 43 พฤษภาคม 2552 ตีพิมพ์ลงในจุลสาร สตท. ฉบับที่ 56 (ประจำเดือนเมษายน – มิถุนายน 2553)

        “การทำสิ่งใดก็ตามย่อมมีความเสี่ยงและต้นทุน แต่ก็ยังน้อยกว่าความเสี่ยงและต้นทุนหลายรูปแบบที่เกิดจากการไม่ทำอะไรเลยแบบเอาสะดวก” – จอห์น เอฟ. เคนเนดี้

        เมื่อประธานาธิบดีคนที่ 35 ของสหรัฐฯ กล่าวถ้อยแถลงนี้ในปี 1960s ราวกับว่าเขากำลังทำนายสิ่งที่ผู้นำทั่วโลกกำลังพูดถึงในครึ่งศตวรรษต่อมา เมื่อต้นปี 2009 เวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum – WEF) ได้เผยแพร่บทความ “ความเสี่ยงของโลกปี 2009” ซึ่งเป็นรายงานฉบับใหม่เกี่ยวกับความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่เกิดจากวิกฤตการเงินโลก และล่าสุดการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่ม G-20 ก็ได้นำพาผู้นำประเทศมหาอำนาจโลกมาไว้ด้วยกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการดำเนินงานเพื่อบรรเทาความเสี่ยงทั้งทางการเงินและอื่นๆ ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อทุกประเทศ

        รายงานความเสี่ยงของ WEF ตีพิมพ์ด้วยความร่วมมือจากซิตี้กรุ๊ป กลุ่มบริษัทมาร์ชแอนด์แมคเลนนัน สวิสรี ศูนย์ความเสี่ยงของวอร์ตันสคูล และซูริคไฟแนนเชียลเซอร์วิส รายงานฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงภัยที่เกิดจากการจัดการกับปัญหาเร่งด่วนโดยที่ไม่เยียวยารากของปัญหา และให้คำเตือนเกี่ยวกับความเสี่ยงอันเกี่ยวเนื่องกับทรัพยากรธรรมชาติที่มักจะถูกละเลย รวมทั้งร้องขอให้เสริมสร้างธรรมาภิบาล (governance) ระดับโลก นอกจากนี้ ยังท้าทายผู้นำทางธุรกิจและผู้กำหนดนโยบายต่างๆ ทั่วโลกให้เน้นแผนการดำเนินการแบบระยะยาวในการจัดการกับความเสี่ยงของโลกที่ซับซ้อนและเชื่อมโยงกัน ซึ่งกำลังเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

        ก็...โลกมันแคบ

สืบเนื่องจากโลกาภิวัตน์ การเชื่อมโยงประเทศและระบบต่างๆ เข้าด้วยกันทำให้โลกนี้ดูแคบลง ประเทศและธุรกิจต่างๆ ได้กระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมกันทั่วโลก มีการเปิดตลาดใหม่ๆ ให้บริการกับกลุ่มลูกค้าที่หลากหลาย ซึ่งทำให้เกิดการจ้างงานและขจัดความยากจน นอกจากผลดีต่างๆ เหล่านี้ และอื่นๆอีกมาก โลกาภิวัตน์ก็ได้สร้าง “พายุสมบูรณ์แบบ” ซึ่งพัดพาภัยต่างๆ ที่ประสบพบนอกอาณาบริเวณเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจหนึ่งได้เช่นเดียวกัน ซึ่งบางครั้งก็โถมเข้าหาอีกซีกหนึ่งของโลกเลยทีเดียว แม้ว่านี่จะไม่ใช่ครั้งแรกที่โลกประสบกับความยากลำบากทางการเงิน แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่า โลกาภิวัตน์มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดวิกฤตทางการเงินครั้งนี้

        เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร? วารสารฉบับนี้ได้พยากรณ์เส้นทางนี้ไว้แล้วและติดตามอย่างสม่ำเสมอ บทความ “Tone at the top” ก็เป็นตัวบ่งชี้ที่สำคัญอันหนึ่ง เริ่มต้นจากคลื่นลูกเล็กๆ ในองค์กรเอกชน ที่เซซัดเข้าสู่ประเทศ และถาโถมเข้าใส่เศรษฐกิจโลกอย่างจัง แนวโน้มเรื่องธรรมภิบาลที่ไร้ประสิทธิภาพและการขาดการกำกับดูแลที่ดีก็มีบทบาทที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในวิกฤตนี้ จะเห็นได้ว่าหลายส่วนเพิกเฉยต่อคำเตือน ไม่จัดการกับความเสี่ยงของธุรกิจอย่างมีประสิทธิผล และได้แสดงให้เห็นถึงแนวคิดแบบละโมบโดยการยอมรับหนี้ที่งอกเงยขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่เคยมีมาก่อน ผลที่ได้ก็คือ การผันผวนของตลาด การขาดสภาพคล่อง อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้น และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและภาคธุรกิจที่ต่ำสุดในประวัติศาสตร์ นี่คือค่าความเสียหายที่เรากำลังเผชิญ

 

Download เอกสารเพิ่มเติม  ที่นี่  View of the risk.pdf

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย

หากท่านมีความสนใจบริการของตรวจสอบภายใน สามารถติตต่อได้ที่

เบอร์ 02-5878080 ต่อ 209 ด้วยความยินดียิ่ง

Last modified on Monday, 17 September 2018