เทรนด์ความสนใจของผู้คนในปัจจุบัน นอกจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างกับภาคธุรกิจแล้ว สิ่งที่นักลงทุนหรือเจ้าของธุรกิจหันมาให้ความสนใจมากขึ้นทุกๆ ปีก็คือ การลงทุนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีการจัดทำรายงานความยั่งยืน หรือ Sustainability Report เพื่อเป็นกรอบสำหรับการดำเนินธุรกิจให้บรรลุผลตามเป้าหมาย
การจัดทำรายงานความยั่งยืน หรือ Sustainability Report ได้รับความร่วมมือจากกลุ่มธุรกิจหลากหลายที่หันมาให้ความสำคัญ รวมถึงหน่วยงานส่วนกลางที่เกี่ยวข้อง เช่น ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งสนับสนุนโดยการจัดทำรายชื่อหุ้นยั่งยืน หรือ Thailand Sustainability Investment : THSI เพื่อดึงดูดความสนใจและเป็นทางเลือกสำหรับนักลุงทุนที่จะใช้ประกอบการพิจารณาลงทุนในหุ้นกลุ่มนี้
การจัดทำรายงานความยั่งยืน สำคัญอย่างไร?
การจัดทำรายงานความยั่งยืน เป็นการเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลแก่ผู้ลงทุน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นอกเหนือจากรายงานทางการเงิน และรายงานประจำปีต่างๆ ที่ยังไม่ถือว่าครอบคลุมและสะท้อนถึงผลการดำเนินธุรกิจในภาพรวมทั้งหมด
ดังนั้นการจัดทำรายงานความยั่งยืน จึงเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่สะท้อนภาพลักษณ์ของการดำเนินธุรกิจในระยะยาวอย่างมีมาตรฐาน
การจัดทำรายงานความยั่งยืนมีประโยชน์อย่างไรกับองค์กรคุณ?
- ช่วยในด้านการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้นำข้อมูลนั้นไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจต่อไป
- ทำให้ผู้ดำเนินธุรกิจเข้าใจถึงประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสำคัญ
- สร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กร และเป็นการสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้เสียรวมถึงนักลงทุนได้ทราบถึงการให้ความสำคัญและรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ทำให้ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เห็นถึงการพัฒนาธุรกิจให้เติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
- สะท้อนภาพลักษณ์และศักยภาพของธุรกิจที่มีความมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งดึงดูคความสนใจของผู้ลงทุนได้เป็นอย่างดี
- ช่วยในการใช้ข้อมูลประกอบการพัฒนากลยุทธ์และแผนการดำเนินธุรกิจ ทำให้เห็นประเด็นที่อาจมองข้าม ความเสี่ยง และโอกาสทางธุรกิจ
กระบวนการทำรายงานด้านความยั่งยืน
- การเตรียมการภายในองค์กร และปรับวางกระบวนการต่างๆ ภายในให้พร้อมสำหรับการเริ่มต้นจัดทำรายงานความยั่งยืน
- การกำหนดเป้าหมาย และเนื้อหาของรายงาน โดยกำหนดผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงการกำหนดประเด็นสำคัญและกรอบของการจัดทำรายงาน
- การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการพิจารณาตัวชี้วัดและกำหนดการจัดเตรียมระบบรายงาน
- วางแผนการเขียนรายงาน ทั้งการกำหนดเป้าประสงค์และเนื้อหารายงาน
- การวางแผนรูปแบบและช่องทางการเผยแพร่ โดยต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และถูกต้องน่าเชื่อถือ แล้วพิจารณารูปแบบ หรือช่องทางการเผยแพร่รายงานอย่างทั่วถึง
การจัดทำรายงานความยั่งยืน หรือ Sustainability Report ถือเป็นการจัดทำเครื่องมือสำคัญในการกำหนดทิศทางขององค์กร และสร้างความเข้าใจร่วมกันระหว่างองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งยังเป็นเหมือนเครื่องยืนยันความมั่นคงและยั่งยืนที่จะดึงดูดนักลงทุนได้
ทั้งนี้สำหรับบางองค์กรที่ยังเป็นมือใหม่ หรือไม่มีทีมในการจัดทำงานรายความยั่งยืนที่เชี่ยวชาญมากพอ อาจหาที่ปรึกษาเพื่อเข้ามาช่วยจัดทำรายงานความยั่งยืน ซึ่งจะครอบคลุมทุกกระบวนการตั้งแต่การสัมภาษณ์ การสอบถามข้อมูลจากผู้บริหารและพนักงาน การตรวจเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ พร้อมรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลให้ฝ่ายบริหาร เพื่อใช้เป็นกรอบดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้และสำเร็จอย่างยั่งยืนในอนาคต
การจัดทำรายงานความยั่งยืนนั้นไม่ใช่เรื่องยากหากมีผู้ช่วยและผู้ให้คำปรึกษาที่ดี โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ ที่นี่
เรียบเรียงโดย : ดร.เพิ่มทรัพย์ เวชสุกรรม รองผู้จัดการฝ่ายพัฒนาระบบ บริษัท ตรวจสอบภายในธรรมนิติ จำกัด