News

| Monday, 18 May 2020 |
Written by 

Reboot กำไรและความยั่งยืนของกิจการภายหลังวิกฤต COVID-19 ในมุมมองของผู้ตรวจสอบภายใน

ในช่วงที่เกิดสถานการณ์ COVID-19 นี้มาสักระยะนึง เริ่มมีนักวิเคราะห์หลายๆ ท่านได้ออกมาเขียนบทความมากมาย มีทั้งความคล้ายและมีความต่างบนความลงตัวที่น่าสนใจว่า ท้ายที่สุดแล้ว... เราหรือองค์กรของเราจะเดินต่ออย่างไรภายใต้สถานการณ์นี้ จากการชะลอตัวของการ WFH จนเกิดเป็น New Normal แต่หากถามถึงความสมดุลในแต่ละองค์กรที่จะเกิดขึ้น คงจะ Copy & Paste ไม่ได้ เพราะต้องขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ นั่นเอง
ผู้เขียนจึงขอเลือก 2 บทความมาอ้างอิงการเขียนข้อมูลในครั้งนี้นะคะ ด้วยชื่นชอบและเป็นบทความที่อ่านง่ายเห็นภาพได้ชัดเจนค่ะ
บทความแรกพูดถึง “ฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกอย่างไรในช่วงวิกฤตโควิด-19” จาก www.mckinsey.com

“ชีวิต ณ ตอนนี้ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ผู้นำทั่วโลกและผู้คนนับล้านกำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญในชีวิต เพราะการระบาดของโรค Covid-19 ไม่ได้ส่งผลร้ายต่อระบบสาธารณสุขเท่านั้น แต่รวมถึงความเป็นอยู่ของประชาชนและความมั่นคงทางเศรษฐกิจด้วย”

เปิดมาด้วยประโยคนี้ราวกลับว่า ความรุนแรงทวีคูณขึ้นมากมายแต่ท้ายที่สุดไม่ว่าจะรุนแรงแค่ไหน ทุกคน ทุกองค์กร ต้องเรียงแถวเตรียมเข้ารับกับการฟื้นฟูกันทุกภาคส่วนนั่นเอง
บทความดังกล่าวเสนอกรอบความคิดเกี่ยวกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ 2 รูปแบบคือ หนึ่งการวิเคราะห์ว่าทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรไม่แสวงหากำไร ควรเปิดเศรษฐกิจ เมื่อไร ส่วนสองจะกล่าวถึงวิธีที่จะต้องใช้เพื่อเปิดเศรษฐกิจนั่นเอง ซึ่งในการแบ่งความรับผิดชอบของแต่ละภาคส่วนก็จะขึ้นกับความรุนแรงของการแพร่เชื้อนี้

แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือบทสรุปในตอนท้าย...นั่นก็คือ

1.  แต่ละอุตสาหกรรมควรจัดเตรียมข้อกำหนดและกระบวนการรับรองความปลอดภัยให้แก่พนักงานและสังคม
2.  ผู้นำด้านสาธารณสุขและด้านอุตสาหกรรมควรร่วมกันกำหนดข้อปฏิบัติที่เหมาะสมให้แก่ละประเภทธุรกิจด้วย รวมถึงถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับหลักประพฤติให้แก่ประชาชนและพนักงานในธุรกิจนั้นๆ
3.  ทุกประเทศจำเป็นต้องทุ่มเทอย่างเต็มที่และต้องละเอียดรอบคอบเป็นอย่างมากในการปฏิบัติวิธีการต่าง ๆ เพื่อปกป้องชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน และต้องเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบสาธารณสุขอย่างสม่ำเสมอ
4.  การนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัวของแต่ละบุคคลมาใช้
       

ส่วนบทความที่ 2 เป็นของคุณธนา เธียรอัจฉริยะ โลกหลังโควิด—Post Covid World ที่สรุปได้ว่า เมื่อโลกเปลี่ยนจนกลายเป็นความคุ้นชิน พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งประเด็นสำคัญมี 7 ข้อดังนี้

1. The rise of super app การเพิ่มขึ้นของแอปพลิเคชัน ที่อยู่ระหว่างผู้บริโภคและธุรกิจค้าปลีก พฤติกรรมที่เปลี่ยนมากๆ ที่เกิดจากความเคยชินของการอยู่บ้านตลอดเวลา ทำให้เริ่มเห็นการรับคนให้บริการภายในธุรกิจ Delivery ไม่กี่อาทิตย์เป็นหลักหมื่นคน

2. The fall of physical location จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ซื้อทุกอย่างบนมือถือ ใช้บริการทุกอย่างจากแอปฯ แน่นอนว่าห้างสรรพสินค้า และ landlord shopping mall ก็จะโดนกระทบหนักๆ เป็นอันดับแรกๆ ทำเลไม่จำเป็นสำหรับการตั้งร้านอีกต่อไป ตลอดจนพื้นที่ของ office building ก็น่าจะลดลง เพราะคนคุ้นและเริ่มรู้สึกว่าการประชุมผ่าน conference app นั้นมีประสิทธิภาพ ความรู้สึกนี้จะมีผลเป็นอย่างมากเมื่อบริษัทกลับมาดำเนินธุรกิจอีกครั้งและต้องทำตัวให้ผอมลงเพื่อแข่งขันได้

3. The rise of machine ถ้าในโรงงานมีคนติดเชื้อไวรัสหนึ่งคน เขาต้องปิดโรงงานทันที ความเสียหายนั้นมหาศาลมากๆ ในขณะที่เครื่องจักรไม่ติดไวรัส ไม่มีความเสี่ยงใดๆ ในเรื่องนี้ แถมราคาก็ได้ ซ่อมก็ง่าย ไวรัสโควิดเป็นตัวกระตุ้นที่รุนแรงมากๆ ในการตัดสินใจก้าวไปสู่โรงงานไร้คนงาน

4. The rise of useless class คนว่างงานจะเพิ่มขึ้น เพราะหลังโควิดไม่ว่าจะเป็นผลจากโรงงานที่เร่งเอาเครื่องจักรมาใช้ หรือบริษัทที่มีความจำเป็นต้องทำตัวให้ผอมลง เพื่อเอาตัวรอดในช่วงฟื้นฟู มาผสมกับ Technology disruption ที่มาอย่างรุนแรง

5. Disruption fast forward การทำงานจากบ้าน ทำ remote working การเสพ content บน online streaming จะมาแย่งตลาดหนังโรง home school หรือการเรียน online ที่ต่อไปจะเป็นมากกว่าแค่ทางเลือกหนึ่ง การสั่งอาหารแบบ delivery และ ecommerce ที่จะขึ้นมาเป็นสัดส่วนสำคัญอย่างรวดเร็ว

6. Anti-sharing economy คุณมารุต ชุ่มขุนทด แห่งคลาสคาเฟ่ วิเคราะห์ว่า space หลังจากโควิดจะกลายเป็นสิ่งหรูหรา ยิ่งรวยมาก space ยิ่งมาก ยิ่งไกลจากคนอื่นมาก ยิ่ง luxury ขึ้น โควิดจะกลับหมุนโลกกลับหัวตีลังกา disrupt แม้กระทั่ง previous disruption

7. Post covid demand for new kind of leadership โลกหลังโควิดจะทำให้เรามีความโหยหาผู้นำในแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นระดับใดก็ตาม ในวิกฤตการณ์แบบนี้ทำให้เราได้เห็นตัวอย่างของผู้นำทุกรูปแบบ ทั้งในแบบแก้ปัญหาได้และแก้ปัญหาไม่ได้ ภาพของผู้นำในฝันจะยิ่งเด่นชัดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปนานกว่านี้

จากบทสรุปของทั้ง 2 บทความข้างต้น ผู้เขียนจึงจึงขอนำเสนอมุมมองในส่วนของผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งพวกเราคลุกคลีกับความเสี่ยง การควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการ แผนรองรับฉุกเฉิน ตลอดจนการป้องกันการทุจริตนั้น เรามองธุรกิจภายหลังวิกฤต COVID-19 ว่าจะเป็นอย่างไรกันบ้าง

เมื่อสถานการณ์คลี่คลายถึงระยะที่ผ่อนปรนแล้ว ธุรกิจควรกลับมาตรวจสุขภาพตัวเองก่อนว่า เมื่อเจอกับวิกฤตครั้งนี้เรามีสภาพคล่องเพียงพอหรือไม่ ยังสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ขององค์กรได้อย่างเป็นปกติไหม หรือหากวิกฤตนี้ยังยืดยาวออกไปท่านในฐานะผู้นำขององค์กรจะดำเนินการเช่นไร

 

วันนี้เรามี Checklist 10 ข้อมาให้ทุกท่านลองตรวจสุขภาพธุรกิจ 

YES or NO มาลองทำกันค่ะ 

 

  1. เกิดวิกฤตธุรกิของท่านยังสามารถเปิดดำเนินการได้ปกติ

   2. ในระหว่างการเกิดวิกฤตธุรกิจของท่านไม่มีการลดจำนวนพนักงาน ลดเงินเดือน

   3. ธุรกิจของท่านยังยืนยันในโครงการลงทุนในทุกด้านตามแผนงานประจำปี 2563 ที่ได้มีการจัดทำไว้

   4. ธุรกิจของท่านไม่ได้รับผลกระทบทางด้านรายได้ หรือได้รับเล็กน้อยไม่เกิน 20%

   5. ธุรกิจของท่านมีการเตรียมพร้อมสำหรับทุกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยแผนสำรองฉุกเฉิน

   6. ในช่วงที่มีการประกาศขอความร่วมมือในการ Work from home ธุรกิจของท่านสามารถดำเนินการได้ทันที

   7. ธุรกิจของท่านยังสามารถติดต่อทำธุรกรรมกับบุคคลภายนอก ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไม่ว่าจะโดยรูปแบบเอกสารหรือโดยระบบได้อย่างต่อเนื่อง

   8. ธุรกิจของท่านไม่มีสัญญาณว่าอาจเกิดการทุจริตโดยพนักงาน หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

   9. การปฏิบัติงานของทุกหน่วยงานภายในองค์กรสามารถดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องปรับเปลี่ยน

  10. ระบบการจัดการในแต่ละสถานการณ์มีความยืดหยุ่น เหมาะสม เพียงพอที่ทำให้ธุรกิจเดินต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก


ตอบของท่านเป็นอย่างไรกันบ้างคะ

• ถ้า ใช่ สามารถตอบในเบื้องต้นได้ว่า ธุรกิจของท่านสามารถรับมือกับทุกสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี
• หาก 50:50 ท่านอาจต้องลองมาวิเคราะห์ภายในองค์กรว่าจุดไหนที่ยังเป็นข้อบกพร่องอยู่
• แต่ถ้า ไม่ใช่ เลย นั่นแสดงว่าท่านอาจจะรับมือได้ระดับหนึ่ง แต่หากยังยืดเยื้อต่อไปธุรกิจของท่านอาจมีความเสี่ยงต่อการหยุดชะงัก


Checklist อันนี้เป็นการตรวจเช็คสุขภาพของธุรกิจท่านได้ในเบื้องต้น แต่หากท่านมีความประสงค์ที่ต้องการตรวจสอบโดยละเอียด เพื่อนำไปปรับปรุงระบบการควบคุมภายใน และการบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่เบอร์ 02-596-0500 ต่อ327 หรืออีเมล์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือผ่านทาง Facebook Dharmniti.InternalAudit ค่ะ


ข้อมูลอ้างอิง

https://www.mckinsey.com/industries/public-sector/our-insights/how-to-restart-national-economies-during-the-coronavirus-crisis

https://www.facebook.com/101815121284197/posts/159845812147794/

เรื่องโดย นางสาวลภัสรดา เลิศภานุโรจ รองประธานบริหาร บจ.ตรวจสอบภายในธรรมนิติ