News

| Wednesday, 17 January 2018 |
Written by 

คุณรู้ไหม ผู้ตรวจสอบภายใน CIA คืออะไร ตอนที่ 1

CIA เป็นชื่อเรียกผู้ที่ได้รับวุฒิบัตรรับรองความรู้ความสามารถ เกียรติ และศักดิ์ศรี ของบุคคลผู้ประกอบวิชาชีพเป็นผู้ตรวจสอบภายในเช่นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต C.P.A. ในประเทศไทย

CIA ถือกำเนิดในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เป็นที่ยอมรับแพร่หลายไปในประเทศต่างๆทั่วโลกและเป็นที่ต้องการและทำงานในตำแหน่งสำคัญ ๆ ในบริษัทชั้นนำของประเทศยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจและการเงินของโลก (Cream of the Crop)

 

CIA = Certified Internal Auditor

 

สรุป CIA ก็คือ Internal Audit เป็นคนในองค์กร เป็นฝ่ายตรวจสอบภายใน ก็จะ

ตรวจสอบการปฏิบัติงานของคนในองค์กรทั้งหมด ป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น

 

เป็น CIA เพื่ออะไร?

ไม่ต้องอธิบายให้มากความว่าวุฒิบัตร  Certified Internal Auditor เปรียบเสมือนใบเบิกทางเข้าไปสู่องค์กรชั้นนำ และนำทางไปสู่ความสำเร็จในวิชาชีพเพียงใด  คอลัมน์ประกาศรับสมัครงานในประเทศสหรัฐฯ มักจะระบุว่าต้องการผู้มีวุฒิบัตร CIA  เพื่อเข้าร่วมงานในตำแหน่งว่า   Internal Audit Manager, Senior Auditor  หรือตำแหน่งอื่น ๆ ที่ต้องการผู้มีความรู้ความสามารถในสาขานี้   การที่จะสอบเอาวุฒิบัตร CIA ได้จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ยังต้องเป็นผู้ที่มีไหวพริบค่อนข้างดี

 

ความกดดันด้านการทำงาน คุณต้องสามารถทำรายงาน Report เพื่อเสนอต่อ

ผู้บริหารว่าระบบการควบคุมภายในของบริษัทเป็นตามที่ถูกต้องไหม มีปัญหาและ

แนวทางแก้ไขอย่างไร

 

 

การอบรมสอบ CIA เป็นการฝึกฝนผู้ตรวจสอบภายในดังนี้


1. ความรู้และความเข้าใจในหลักและปรัชญาแห่งการควบคุมภายใน

2. เทคนิค และขั้นตอนของการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน ตั้งแต่ระดับพื้นฐานจนถึงระดับบริหารชั้นสูง

3. พัฒนาความสามารถในการเขียนรายงาน และการสื่อสารรูปแบบอื่นกับผู้อื่นในองค์กร

4. เปลี่ยนวิสัยทัศน์และทัศนคติของผู้ตรวจสอบภายใน และผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง จากที่เคยเป็นเพียง "ผู้ตรวจสอบฯ " (หรือยิ่งร้ายกว่านั้นว่าเป็น "ผู้จับผิด") มาเป็น "ที่ปรึกษาฝ่ายบริหาร"

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ประกาศให้บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องแต่งตั้ง Audit Committee ทำให้วงการธุรกิจไทยจะมีความต้องการ Internal Auditors เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าผู้ตรวจสอบภายในที่พัฒนาตนเองจนมีคุณสมบัติระดับ CIA จะเป็นบุคลากรชั้นหัวกะทิ (Cream of the Crop) ที่มีโอกาสทองสำหรับตำแหน่งสำคัญในสายงานตรวจสอบภายใน

 

ส่วนมาก CIA มีความเปลี่ยนแปลงและได้รับทัศนะคติจากผู้ร่วมงาน ดังนี้

ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานมากกว่าเดิม

ได้รับความเชื่อถือจากฝ่ายบริหารที่มองเห็นตนเป็นที่ปรึกษากว่าเดิม

ได้รับการดูแลจากองค์กรของตนในด้านเงินเดือนและตำแหน่งงานดีขึ้น

ได้เปรียบคู่แข่งขันในวิชาชีพเดียวกันในการสมัครงานหรือเลื่่อนตำแหน่ง

 

คุณสมบัติของผู้สมัครสอบ

บุคคลทั่วไป

- จบปริญญาตรีหรือสูงกว่าในสาขาใดก็ได้

- มีประสบการณ์ทำงานด้านตรวจสอบหรือด้านที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 2 ปีสำหรับผู้สมัครสอบโดยใช้วุฒิปริญญาตรี และ 1 ปีสำหรับวุฒิปริญญาโท

- ผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์สามารถสอบได้ หากสอบผ่าน IIA จะยังไม่ออก ประกาศนียบัตรให้จนกว่าจะมีคุณสมบัติครบถ้วน

นักศึกษา

- อายุไม่เกิน 25 ปี

- เป็นนักศึกษาปริญญาตรีเต็มเวลาในสาขาใดก็ได้ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีสุดท้ายหรือต้อง ลงทะเบียนเรียนมาแล้ว 12 เทอม

- ผู้ที่ยังเรียนไม่จบ หากสอบผ่าน IIA จะยังไม่ออกประกาศนียบัตรให้จนกว่าจะมีคุณสมบัติ ครบถ้วนตามคุณสมบัติของผู้สมัครสอบแบบบุคคลทั่วไป

อาจารย์ประจำ

- เป็นอาจารย์ประจำในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาและทำหน้าที่สอนอยู่ในปัจจุบัน

การจัดสอบ

สมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (สตท.) การสอบดังกล่าวจัดขึ้นโดยสถาบันผู้ตรวจสอบภายในสากล (IIA) โดยมีสมาคมผู้ตรวจสอบภายในแห่งประเทศไทย (สตท.) เป็นตัวแทนปัจจุบันสมาคมผู้ตรวจสอบภายใน รูปแบบการสอบทั้งหมดเป็น Computer based Testing (CBT) ซึ่งการความสะดวกแก่ผู้สอบ เช่น สามารถกำหนดวันและเวลาสอบตามแต่ตนเองจะสะดวกตาม website จัดสอบ

 

เนื้อหาข้อสอบ

CIA2_1.20

 

การรักษาสถานภาพการเป็น CIA

เพื่อรักษาสถานภาพการเป็นผู้ตรวจสอบภายในรับอนุญาต (CIA) ผู้ตรวจสอบภายในมีภาระหน้าที่รักษาระดับความรู้และทักษะแห่งวิชาชีพ หรือยกระดับความรู้ ความชำนาญให้ทัดเทียมกับวิวัฒนาการของวิชาชีพ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสะสมชั่วโมงพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง นั้นคือ การสะสมชั่วโมง CPE (Continuing Professional Education) ให้ครบ ตามวุฒิบัตรที่ถือ ของข้อกำหนดของ IIA โดยส่งเป็นรายงานการทำงานประจำปีนั้นเอง
หากไม่สะสมชั่วโมง CPE จะทำให้ถูกพักสถานภาพ ซึ่งถ้าเกินกว่า 12 เดือนนั้นหมายถีงไม่รักษาสถานภาพจะต้องปฏบัติตามหลักเกณฑ์และเสียค่าปรับตามที่กำหนดไว้

 

แหล่งที่มา : www.cits.co.th