News

| Friday, 16 December 2016 |
Written by 

การบริหารความเสี่ยง ภาพสะท้อนความยั่งยืนของธุรกิจ

การบริหารความเสี่ยง ภาพสะท้อนความยั่งยืนของธุรกิจ 

โดย ศุภกร เอกชัยไพบูลย์

 

         ธุรกิจในปัจจุบันต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างรวดเร็ว เช่น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค ภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นต้น หลายเหตุการณ์ไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ซึ่งความเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวมักมาพร้อมกับ “โอกาส” หรือ “ความเสี่ยง” ดังนั้น ถ้าไม่มีกระบวนการรับมือที่เหมาะสมอาจทำ ให้ธุรกิจเสียโอกาส และสร้างความเสียหายต่อชีวิตพนักงานและทรัพย์สินขององค์กร ซึ่งจะกระทบต่อ “ความอยู่รอด” ของธุรกิจด้วย

         การบริหารความเสี่ยงจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจมีความระมัดระวังในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้นเพื่อลดหรือบรรเทาความเสียหายจากความเสี่ยงมากที่สุด โดยภายใต้กระบวนการบริหารความเสี่ยง คือ กลไกสำคัญที่ช่วยสะท้อนภาพการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ดังนั้น ขอบเขตการประเมิน วิเคราะห์ และระบุประเด็นความเสี่ยงของธุรกิจจึงต้องคำนึงถึงบริบทและผลกระทบที่อาจมีต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างครอบคลุมนอกเหนือไปจากความเสี่ยงในเชิงธุรกิจเพียงด้านเดียว จึงอาจกล่าวได้ว่า ประเด็นที่ได้จากการระบุความเสี่ยงของธุรกิจที่ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม คือ ประเด็นของการบริหารความยั่งยืนขององค์กร (Corporate sustainability)
ปัจจุบันหลายองค์กรได้นำ บริบทความยั่งยืน (Sustainability context) กับการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร (Enterprise risk management) มาเป็นกลยุทธ์กำหนดทิศทางการดำ เนินธุรกิจอย่างแพร่หลาย โดย Committee of Sponsoring Organizations of The Treadway Commission หรือ COSO

         ซึ่งเป็นองค์กรที่พัฒนากรอบและแนวปฏิบัติสากลด้านการจัดการความเสี่ยงองค์กรและการควบคุมภายใน ได้เผยแพร่เอกสารเรื่อง Integrating the Triple Bottom Line into as Enterprise Risk Management Program  เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรต่างๆ สามารถระบุความเสี่ยงด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ สังคม และ สิ่งแวดล้อมภายใต้กรอบการบริหารความเสี่ยงได้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ (Strategic risk)ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติ (Operational risk) ความเสี่ยงด้านการเงิน (Financial risk) และความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ (Compliance risk) อีกทั้งเสนอแนะให้มีกระบวนการควบคุมระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk appetite) และมีระบบการประเมินติดตามผลที่เป็นรูปแบบเดียวกันทั้งองค์กร รวมถึงส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมการบริหารความเสี่ยง (Risk culture) ที่มีการสื่อสารให้แก่ผู้เกี่ยวข้องภายในองค์กรตระหนักถึงประเด็นด้านความยั่งยืนที่เป็นทิศทางเดียวกับกลยุทธ์องค์กร

         Ayse Kucuk Yilmazและ Triant Flourisได้ร่วมกันวิจัยเพื่อพัฒนากรอบการบริหารความเสี่ยงเรื่อง Enterprise Sustainability Risk Management (ESRM) โดยบูรณาการประเด็นด้านความยั่งยืนเข้าสู่กระบวนการจัดการความเสี่ยงขององค์กรในทุกองค์ประกอบ ตั้งแต่กลยุทธ์องค์กร วัฒนธรรมองค์กร และการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจในทุกระดับขององค์กร เพื่อพัฒนาธุรกิจให้เติบโต ควบคู่ไปกับการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

 

 

         Yilmaz และ Flouris ยังได้เสนอว่า ESRM จะเป็นเครื่องมือที่ทำ ให้ผู้บริหารมีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจดำ เนินธุรกิจและ จัดการกับความเสี่ยงของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มคุณค่าให้ธุรกิจและสร้างศักยภาพด้านนวัตกรรมต่างๆเพื่อการปรับตัวของธุรกิจให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


         สำหรับบริบทในประเทศไทย มีธุรกิจจำ นวนมากที่ให้ความสำ คัญกับการบริหารความเสี่ยงตามแนวทางการพัฒนาความยั่งยืนเช่น บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำ กัด (มหาชน) ที่มีการระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ โดยมีการกำ หนดเป็นแนวทางบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย พร้อมนำ ระบบการตรวจประเมินผลที่มีประสิทธิภาพมาควบคุมเพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากพฤติกรรมการทำ งานหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพการทำงาน ขณะเดียวกัน บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำ กัด (มหาชน) ยังพิจารณาถึงโอกาสเมื่อพนักงานไม่ประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยจากการทำงานจะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของพนักงาน ทำ ให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจ และไม่ทำให้ต้นทุนการผลิต เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น4


         จะเห็นได้ว่าแนวคิดด้านการบริหารความเสี่ยงกับความยั่งยืนขององค์กรนอกจากจะไม่ใช่แนวคิดใหม่แล้ว ยังเป็นประเด็นที่มีความเชื่อมโยงกันจนดูราวกับเป็นเรื่องเดียวกันอีกด้วย ดังนั้น หากธุรกิจมีการดำ เนินงานอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยสร้างโอกาสและภูมิคุ้มกันให้ธุรกิจอย่างเข้มแข็ง ช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้มีส่วนได้เสียอันจะนำ ไปสู่การเพิ่มมูลค่า และสร้างคุณค่าให้แก่ธุรกิจ สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืนต่อไป

 

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

หากท่านมีความสนใจบริการของตรวจสอบภายใน สามารถติตต่อได้ที่

เบอร์ 02-5878080 ต่อ 209 ด้วยความยินดียิ่ง

Last modified on Monday, 17 September 2018