ถ้าจะแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันจะต้องทำกันอย่างจริงๆจังๆ ครอบคลุมไปทั้งระบบจึงพอจะมองเห็นหนทางสำเร็จได้
ป.ป.ช.มีมติเห็นชอบให้กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่รัฐที่จะต้องมีหน้าที่ยื่นแสดงบัญชีทรัพย์สินเพิ่มเติมแยกเป็นหน่วยงานต่างๆ ดังนี้
1.สถาบันอุดมศึกษาในสังกัดรัฐได้แก่รองอธิการบดี
2.สถาบันศึกษาในกำกับรัฐได้แก่รองอธิการบดี
3.องค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้อำนวยการสำนักช่าง
4.เทศบาลนคร ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการช่าง
5.เทศบาลเมือง ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการสำนักงานช่าง
6.เทศบาลตำบล ปลัดเทศบาล ผู้อำนวยการสำนักช่าง
7.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จเรตำรวจแห่งชาติ รองผู้บัญชาการ ผู้ช่วยผู้บัญชาการ ผู้บัญชาการสำนักงานส่งกำลังบำรุง ผู้บัญชาการสำนักงานกำลังพล ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจสอบภายใน ผู้บัญชาการศูนย์ปฏิบัติ การตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผู้บัญชาการกำลังพล ผู้บัญชาการสันติบาล ผู้บัญชาการ ตชด. เป็นต้น
นอกจากนั้นในระดับรองสังกัดสำนักงานต่างๆ ก็จะต้องยื่นด้วย
ระดับผู้บังคับการในหน่วยงานสำคัญๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานที่มีลักษณะจะต้องเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และการใช้งบประมาณสูงก็เช่นเดียวกัน
ทั้งนี้ให้เริ่มต้นแสดงบัญชีตั้งแต่วันที่ 3 เม.ย.-2 พ.ค.2560 ส่วนตำแหน่งสำคัญได้ข้อกำหนดให้แสดงทรัพย์สินอยู่แล้ว
กติกาใหม่ถือว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งเป็นทางหนึ่งที่จะควบคุมและป้องกันการทุจริตได้ แต่มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ การแสดงทรัพย์สินนั้นไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณะเพียงแต่ให้ ป.ป.ช.เก็บเอาไว้เท่านั้น เพื่อจะดูว่าแต่ละปีจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้นหรือลดลง
ไม่ได้ตรวจสอบถึงที่มาและมีการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่? ช่องโหว่ตรงนี้จึงมีการพูดกันว่า หากจะแก้ไขปัญหาให้ได้จริงๆ ก็ควรที่จะมีการตรวจสอบด้วยว่าได้มาอย่างไร เสียภาษีถูกต้องหรือไม่? เพราะมิฉะนั้นก็เป็นได้เพียงแค่พิธีกรรมเท่านั้น
อย่างกรณีที่ สตง. ได้ยื่นเรื่องให้ ป.ป.ช. พิจารณาว่าบรรดานักการเมืองที่จะต้องแสดงทรัพย์นั้นเริ่มเข้ารับตำแหน่งมีรายได้เท่าใด แต่หากว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นได้มีการตรวจสอบหรือไม่ว่าเสียภาษีถูกต้องหรือไม่
มีนักการเมืองราว 60 คน ที่อยู่ข่ายชวนให้น่าสงสัย ป.ป.ช. อ้างว่าไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการตรวจสอบว่าเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ มีหน้าที่เพียงแค่ว่าตรวจสอบบัญชีทรัพย์สินว่ามีจำนวนเท่าใด ได้มาอย่างไร เพิ่มขึ้นหรือลดลงแค่ไหน
ตรงนี้ก็เช่นกัน นอกเหนือจากว่าบางคนที่มีรายได้ลดลงคงไม่เป็นไร แต่ที่มีรายได้เพิ่มขึ้นนั้นได้มาอย่างไร เพราะยิ่งบรรดารัฐมนตรีนั้นมีข้อห้ามต่างๆควบคุมอยู่แล้ว แต่ถ้ามีรายได้เพิ่มขึ้นจำนวนมากก็น่าสงสัยอยู่เหมือนกันว่าได้มาอย่างไร เพราะเงินเดือนในตำแหน่งรัฐมนตรีก็ไม่ได้มากมายอะไร จึงมีความจำเป็นที่จะต้องตรวจสอบประเด็นนี้ด้วย
คือเพิ่มอำนาจให้ ป.ป.ช. สามารถส่งเรื่องให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยเฉพาะกระทรวงการคลังตรวจสอบอีกชั้นหนึ่งว่ามีการเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ แม้จะต้องเสียเวลาในการตรวจสอบอยู่บ้าง แต่ปัจจุบันไม่น่าจะยุ่งยาก เพราะด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยแค่กดปุ่มปั๊บก็ได้เรื่องแล้ว
คนสุจริตโปร่งใสคงไม่ต้องกลัว แต่พวกโกงกินนั้นหวั่นไหวแน่.
ที่มา : ไทยรัฐ
หากท่านสนใจบริการ ตรวจสอบภายในธรรมนิติ (DIR) มีดังนี้
- งานตรวจสอบภายใน (IA)
- ประเมินระบบการควบคุมภายใน
- การบริหารความเสี่ยง
- ประเมินทุจริตคอรัปชั่น
- ตรวจสอบระบบคอมพิวเตอร์และไอที
- งานตรวจสอบพิเศษ
- ประเมินคุณภาพงานตรวจสอบภายใน (QAR)
- พัฒนาระบบบัญชี
สามารถติตต่อได้ที่
เบอร์ : 02-596-0500 ต่อ 327 อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
บริษัทตรวจสอบภายในธรรมนิติ (DIR) ยินดีให้บริการครับ