ข่าวสาร

| วันจันทร์, 20 มีนาคม 2560 |

5 ลักษณะร้ายของ”วัฒนธรรมการทำงานในองค์กร”ที่บ่อนทำลายธุรกิจ

เมื่อยอดขายตกสิ่งแรกที่ SMEs ให้ความสนใจมักเป็นเรื่องของการตรวจสอบบัญชีหรือการวัดคุณภาพสายผลิต ซึ่งบางทีมันอาจไม่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้หรือเพราะมันถึงเวลาแล้วที่คุณควรหันมามองการบริหารงานและวัฒนธรรมความคิดและการทำงานในองค์กร

 

 

1. องค์กรอีโก้สูง พวกฉันเก่ง ฉันเจ๋งฉันแน่ ฉันรู้ดีไปหมดทุกเรื่อง

แน่นอนว่าในที่ทำงานทุกคนก็ต่างต้องหาคำตอบมา Defend ในทุกปัญหา ทุกคนต่างมั่นใจในศักยภาพและสามารถวิจารณ์กันได้ มันไม่ผิดที่เจ้านายจะวิจารณ์ลูกน้องหรือแม้แต่ลูกน้องจะวิจารณ์เจ้านาย แต่การรู้ไปหมดทุกเรื่องทุกคนสะท้อนให้เห็นถึงความไม่สอดคล้องในแผนการทำงาน ความมั่นใจสูงทำให้งานเดินช้า

น่าจะดีกว่าถ้าทุกคนในองค์กรหันหน้าเข้าหากันและทำให้งานมันง่ายโดยปราศจากปัญหา เปลี่ยนจากการรู้ไปทุกเรื่องมาเป็นรู้บ้างแต่ใฝ่รู้ ใฝ่พัฒนาขึ้นไปอีก ขจัดอีโก้ทิ้งไปเพื่อเป็นเกมส์การทำงานที่สนุกมีประสิทธิภาพและเพื่อองค์กรที่แข็งแกร่ง

 

2. องค์กรที่ขาดการสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงาน

สิ่งนี้คือความผิดร้ายแรงที่สุดขององค์กร คุณไม่ควรปล่อยให้เกิดความคิดแบบนี้ เพราะธุรกิจคุณจะไม่มีทางโตขึ้นได้เลยเมื่อพนักงานทำเพียงเพื่อหน้าที่และเงินค่าแรงที่เขาได้รับจากการคำนวณต่อวัน หากมีงานเพิ่มขึ้น พวกเขาจะไม่สนใจปัญหาหรืออาจมองหาทางลัดเพื่อให้งานเสร็จไปวันๆ

ทุกคนต่างดูออกเมื่อพนักงานใช้ทางลัดเพื่อให้ได้งานแบบลวกๆมา ในฐานะผู้นำที่ดี คุณควรศึกษาว่าอะไรคือสิ่งจูงใจ ที่สามารถช่วยกระตุ้นพวกเขา ซึ่งความคาดหวังของแต่ละคนล้วนต่างกัน หาให้เจอว่าอะไรที่จะสามารถขับเคลื่อนพวกเขา เพื่อนำพาธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ

 

3. องค์กรที่ต่างคนต่างทำงาน ไม่ค่อยปรึกษาหรือแลกเปลี่ยนไอเดียกัน

เพราะบริษัทสามารถขับเคลื่อนไปด้วยการรวบรวมความคิด ทุกคนล้วนมีศักยภาพที่แตกต่างกัน ฉะนั้นการนำเอาข้อดีของแต่ละคนมาแชร์ จึงเกิดเป็นการต่อยอดไอเดียใหม่ๆ ถ้าองค์กรไหนไม่มีภาพของการทำงานที่สนุกไม่มีความสุขที่ได้อยู่องค์กรนี้ พนักงานก็คงแค่มาทำหน้าที่ให้จบไปวันๆแล้วค่อยมองหาที่ใหม่ ซึ่งมันไม่ได้สรรสร้างอะไรดีๆให้กับองค์กรเพิ่มขึ้นมาเลย

การที่พนักงานจะสนใจแต่งานตัวเองนั่นหมายความว่าพวกเขากำลังอยู่ใน Comfort Zone ซึ่งองค์กรคุณอาจมีปัญหา เช่น หัวหน้างาน, ผู้จัดการ, ผู้บริหารไม่เปิดรับไอเดียจากลูกน้องหรือเพราะกฎเกณฑ์ข้อปฏิบัติมากมาย จึงทำให้พนักงานต้องเป็นเช่นนั้น สิ่งนี้ผู้นำต้องทำคือช่วยสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกันและเปิดมุมมองการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างเท่าเทียม สู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์

 

4. องค์กรจอมComplain ขี้บ่นและติไปซะทุกเรื่อง

พวกขี้บ่นส่วนใหญ่มักจะชอบติพูดถึงจุดบกพร่องของเพื่อนร่วมงานรวมไปถึงเจ้านาย มักพูดแต่ในสิ่งที่ตนเองชอบหรือความคาดหวังที่อยากให้เป็น ยิ่งถ้าบ่นในบริษัทมันก็จะไปบั่นทอนถึงกำลังใจการทำงานของเพื่อนร่วมงานและไปกระทบต่อศักยภาพการเติบโตของบริษัทคุณอย่างไม่ต้องสงสัย

หากนำเอาข้อบกพร่องที่ไม่ชอบในบริษัทมาวิจารณ์อย่างดุเดือดเปิดเผย จนทำให้พนักงานมองว่ามันเป็นเรื่องปกติขององค์กรนี้ ไม่นานองค์กรก็จะกลายเป็นสถานที่ทำงานอันน่ากลัวและหดหู่ที่สุด

 

5. องค์กรที่ไม่เสมอต้นเสมอปลาย ชอบลื่นไหลหรือโกหกเพื่อเอาตัวรอด

หัวใจของการเติบโตทางธุรกิจคือการรักษาลูกค้าสร้างความไว้วางใจจากพวกเขา เมื่อลูกค้าสัมผัสถึงความจริงใจได้แล้วเขาก็จะส่งต่อสินค้าคุณไปยังคนอื่นๆ ดังนั้นพนักงานต้องมีความเสมอต้นเสมอปลาย มีTime Line การส่งมอบงานที่ชัดเจน ที่สำคัญต้องไม่อวดอ้างสินค้าเกินจริงด้วย

ปัญหาใหญ่ที่สุดของข้อนี้คือเมื่อคุณโกหกลูกค้าจะไม่ลังเลเลยที่จะตำหนิสินค้าคุณให้คนอื่นๆฟัง ความซื่อสัตย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร เพราะเมื่อไหร่ที่คุณได้ยินลูกค้าพูดถึงพนักงานในแง่ลบนั่นหมายความว่าชื่อเสียงบริษัทคุณค่อยๆเสียหายแล้ว “สำหรับประเด็นนี้หากเป็นการโกหกและไม่จริงใจกันทั้งในองค์กร คงไม่ต้องอธิบายว่ามันจะแย่แค่ไหน”

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มาภาพ : Smart SME Channel

 

หากท่านสนใจบริการ ตรวจสอบภายในธรรมนิติ (DIR) มีดังนี้

 

สามารถติตต่อได้ที่

เบอร์ : 02-596-0500 ต่อ 327 อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

บริษัทตรวจสอบภายในธรรมนิติ (DIR) ยินดีให้บริการครับ

Last modified on วันพฤหัสบดี, 23 สิงหาคม 2561