News

| Thursday, 27 October 2016 |

กับดักภาครัฐยุค 4.0

ภายใต้แนวคิดการผลักดันประเทศไทยเข้าสู่ยุคสมัย “ไทยแลนด์ 4.0” เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ประเทศแห่งนวัตกรรม


        เพื่อขับเคลื่อนไปสู่ประเทศแห่งนวัตกรรม จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าขีดความสามารถของคนภายในหน่วยงานภาครัฐ คือ ตัวแปรสำคัญในการเปลี่ยนนโยบายในแผ่นกระดาษไปสู่ความเป็นจริง บ่อยครั้งที่เมื่อตั้งคำถามถึงคำจำกัดความของงานภาครัฐคำตอบที่ได้รับส่วนใหญ่ จะเป็นไปในแง่งานที่มีความมั่นคงค่อนข้างสูง แต่ในยุคสมัยของไทยแลนด์ 4.0 ความมั่นคงนั้นจะมีอยู่จริงหรือไม่และเพียงพอที่จะดึงดูดกลุ่มคนเจนเนอเรชั่นถัดไปสู่ระบบราชการได้มากน้อยเพียงใด


        จากคำถามที่กล่าวมาข้างต้นปฎิเสธไม่ได้ว่าจุดเด่นที่ทำให้อาชีพราชการยังคงสามารถดึงดูดขุมกำลังคนเข้ามาสู่ระบบได้ต่อเนื่อง คือ ระบบบำเหน็จบำนาญและการรักษาพยาบาลอย่างครอบคลุมที่ยังคงมีประสิทธิภาพไม่ว่ายุคสมัยของกาลเวลาจะเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น นั่นเป็นเพราะกลุ่มคนในช่วงวัยมากกว่า 50 ปี (กลุ่มคนในยุคเบบี้บูม) ยังคงมีการรับรู้ที่เหนียวแน่น ค่อนข้างมากทั้งจากประสบการณ์ตรงในวิกฤติต้มยำกุ้งและภาพลักษณ์บุคลากรภาครัฐในอดีต ทำให้ต้องการผลักดันให้เจนเนอเนชั่นถัดไปของตนเข้าสู่ระบบราชการด้วยความหวังให้ระบบสวัสดิการภาครัฐเป็นตัวช่วยสร้างความมั่นคงในระยะยาว


         อย่างไรก็ตาม จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงและแรงกดดันจากภาวะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้เกิดข้อจำกัดด้านงบประมาณภาครัฐ และความเสี่ยงภาระทางการคลังในระยะยาวมากขึ้น ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่มีผลกระทบต่องานบุคลากร ภาครัฐ เช่น แนวคิดการใช้กลไกของระบบประกันสุขภาพเพื่อทดแทนระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลในปัจจุบันและการขยายอายุเกษียณราชการ ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้กลายเป็นคลื่นยักษ์ที่เข้ามาสั่นคลอนจุดแข็งของงานราชการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้


         ด้วยความต่างของสิ่งเร้าที่มีผลในการเลือกงานและความต้องการอิสระ ในการทำงานที่มากขึ้นของคนยุคใหม่ ทำให้การสรรหาขุมกำลังที่มีประสิทธิภาพเพื่อการก้าวไปสู่ไทยแลนด์ยุค 4.0 มีความท้าทายมากขึ้น โดยปัจจุบันหน่วยงานรับผิดชอบ ทางด้านการจัดหาทรัพยากรบุคคลของภาครัฐได้มีการปรับเปลี่ยนเชิงกลยุทธ์ เพื่อให้สามารถดึงดูดกลุ่มก้อนคนรุ่นใหม่มารับไม้สานฝันสู่ประเทศแห่งนวัตกรรมมากขึ้น


        ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาข้อสอบให้มีความทันสมัย การเพิ่มช่องทางการคัดสรรตรงของ หน่วยงาน หรือแม้กระทั่งการก้าวรุกไปหากลุ่มเป้าหมายถึงรั้วมหาวิทยาลัย แต่ด้วยขนาดของโครงสร้างและผลตอบแทนที่ก้าว ไปไม่ทันภาคส่วนอื่นๆ ทำให้การไหลออกของกลุ่มคนศักยภาพยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง หรือแม้กระทั่งการลดถอยลงของ ประสิทธิภาพการทำงานอันเนื่องมาจากปัญหาคอขวดในโครงสร้างที่ไม่อาจสร้างความก้าวหน้าได้เท่าที่ควร สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ ประเด็นใหม่ที่เพิ่งถูกนำมาหยิบยก แต่กลับยังคงเป็นกับดักเดิมที่ฉุดรั้งระบบราชการไทยมาช้านาน


          ที่ผ่านมาภาคเอกชนได้เริ่มมีการปรับเปลี่ยนการบริหารงานทรัพยากรบุคคลเพื่อให้สอดรับกับความต้องการ และเพิ่มขีดความสามารถในการดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจัยด้านผลตอบแทนและสวัสดิการกลายเป็นกุญแจสำคัญในการเลือกงานของแรงงานปัจจุบัน ถัดมาเป็นการจัดสภาพแวดล้อมล้อมที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์และพื้นที่ส่วนกลางเพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตและการทำงาน ขณะที่งานภาครัฐยังคงก้าวหนีไม่พ้นเรื่องสวัสดิการซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอยู่เนืองๆ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ทำให้ความน่าสนใจในงานภาครัฐและเอกชนก้าวออกไปในทิศทางที่ต่างกันและจะทวีความต่างมากขึ้นตามความต้องการของวัยแรงงานที่เปลี่ยนแปลงไป


         ในวันนี้ภาครัฐได้เริ่มต้นวางรากฐานให้ประเด็นด้านนวัตกรรมเป็นเครื่องมือหลักในการน าพาประเทศให้พ้นจากกับดัก รายได้ปานกลาง ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวไม่สามารถที่จะก่อร่างสร้างขึ้นได้ถ้าหากปราศจากคนที่จะเข้ามาขับเคลื่อน ถึงเวลาแล้ว หรือยังที่สร้างคุณค่าของงานราชการที่มากกว่าสวัสดิการที่ไม่อาจดึงดูดคนศักยภาพเข้าสู่ระบบได้เช่นอดีต


โดย น.ส.รวี ศุภบุญญานุภาพ

 

 

ขอขอบคุณแหล่งที่มา : การเมือง กรุงเทพธุรกิจ

หากท่านมีความสนใจบริการของตรวจสอบภายใน สามารถติตต่อได้ที่

เบอร์ 02-5878080 ต่อ 209 ด้วยความยินดียิ่ง

Last modified on Thursday, 23 August 2018